ตอนนี้คุณเล่นเกม หรือ เกมเล่นคุณ ?




GAME

 เป็นลักษณะของกิจกรรมของมนุษย์เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เพื่อฝึกทักษะ และเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น และในบางครั้งอาจใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาได้
เกมประกอบด้วยเป้าหมาย กฎเกณฑ์ การแข่งขันและปฏิสัมพันธ์ เกมมักจะเป็นการแข่งขันทางจิตใจหรือด้านร่างกาย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดพัฒนาการของทักษะ ใช้เป็นรูปแบบของการออกกำลังกาย หรือการศึกษา บทบาทสมมุติและจิตศาสตร์ เป็นต้น


แล้วเกมไม่มีข้อเสียเลยหรอ?

แน่นอนว่าต้องมีข้อเสียของการเล่นเกม ยกตัวอย่างเช่น
         1. ปัญหาทางด้านสุขภาพตา
เป็นที่รู้กันดีว่าหากเราเพ่งสมาธิสนใจกับสิ่งใดก็ตาม ดวงตาของเราจะตอบสนองอย่างเห็นได้ชัด ม่านตาจะขยายออก เปลือกตาจะกระพริบน้อยลง
         สมัยก่อนจะมีเนื้อหาในวิชาสปช.ว่าไม่ควรอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงจ้ามากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดอาหารแสบตาได้ แต่น้อยนักที่จะมีคนมาพบแพทย์ด้วยอาการเคืองตาแสบตาอันเกิดจากการอ่านหนังสือมากเกินไป ส่วนใหญ่มาด้วยเรื่องแสบตาหลังจากการจ้องมองจอทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์มากเกินไปมากกว่า
         ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยก็แค่ตาแดงอักเสบเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นมากๆอย่างเช่นเด็กที่เล่นเกมส์ติดต่อกันอย่างตั้งใจเป็นเวลา8-9ชั่วโมง อาจจะพบได้ถึงขนาดที่ว่ากระจกตาอักเสบจนมีอาการแสบตาลืมตาไม่ขึ้นเทียบเท่ากระจกตาอักเสบในคนที่ไปอ๊อกเชื่อมเหล็กโดยไม่ใส่แว่นตาป้องกันเลยทีเดียว
          2. ปัญหากล้ามเนื้อ
          ปัญหาทางกล้ามเนื้อที่พบได้ในการเล่นวีดีโอเกมส์คือการที่กล้ามเนื้อของผู้เล่นอยู่ผิดที่ผิดทางหรือถูกใช้ย้ำๆซ้ำๆอย่างต่อเนื่อง
          ผิดที่ผิดทางที่พบได้บ่อย คือการปวดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ สะบัก หลังหรือแม้กระทั่งปวดขา อันเนื่องมาจากการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะเป็นเวลานานๆ ... การจะนั่งในท่าที่ผิดนั้น ก็เกิดเนื่องมาจากการที่โต๊ะคอมพิวเตอร์หรือจอ ตั้งอยู่ไม่เหมาะสมกับผู้เล่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์วางอยู่ในระนาบที่ไม่เหมาะ
เด็กอายุ12-13ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดต้นคอปวดหลัง หลายๆครั้งถ้าซักย้อนกลับไปก็จะได้ประวัติว่าไปเล่นเกมส์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆตามร้านเกมส์

          ถูกใช้ย้ำๆซ้ำๆ ที่จริงมักพบในเกมส์สมัยก่อนโดยเฉพาะเกมส์Action มักก่อให้เกิดความเจ็บปวดกับกล้ามเนื้อที่โดนใช้บ่อยๆเป็นเวลานานๆ ในวารสารการแพทย์ก็มีกล่าวถึงโรคเหล่านี้ระบุเป็นชื่อตามเกมส์หรือเครื่องเล่นเช่น
           Space Invader''s Wrist : กล่าวถึงครั้งแรกในปี 2524 โดยกล่าวถึงการเล่นเกมส์Space invader''s ด้วยJoystick จนกระทั่งเจ็บปวดข้อมือ
            Nintendinitis : กล่าวถึงครั้งแรกในปี 2531 โดยกล่าวถึงในลักษณะการเล่นจนเจ็บกล้ามเนื้อของมือและแขน
            Playstation Thumb : เล่นเกมส์เพลยฯจนกระทั่งเอ็นนิ้วโป้งอักเสบ
            Wiiitis : เล่นเครื่องวี(ของนินเทนโด) จนกระทั่งกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งตำแหน่งกล้ามเนื้ออักเสบก็ขึ้นกับเกมส์ที่เล่น
             สำหรับการเล่นเกมส์เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเกมส์ออนไลน์ ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องปวดข้อมือและแขนข้างที่ถนัดได้จากการลากเมาส์และกดบ่อยๆ    
             3. ปัญหาทางด้านพฤติกรรม
             มีความพยายามที่จะทดสอบหรือหาความเกี่ยวข้องทางด้านพฤติกรรมของเด็กที่ติดเกมส์เพื่อมาชี้ผลเสียของการเล่นเกมส์ให้เห็นกัน แต่ว่าเรื่องราวเหล่านี้ก็ไม่ได้มีอะไรที่ชี้ชัดมากไปกว่าการแสดงให้เห็นว่าการเล่นเกมส์มีความ"สัมพันธ์"กับพฤติกรรมที่ไม่ดี


แล้วประโยชน์ของมันล่ะ?

Microsoft's Project Natal
ตัวอย่างเช่น
         ความจำดีขึ้น 

          เล่นเกมนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เราได้ใช้สมองมากขึ้น ถึงแม้เกมที่เราเล่นจะเป็นเกมเด็กๆ ติงต๊องดูเหมือนไม่ต้องใช้ทักษะความคิดอะไร นั่นและเรียกได้ว่าเป็นการเปิดประสบการณ์ให้สมองได้พบเจอภาพใหม่ ๆ สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งจะทำให้สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) หรือสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำได้ออกกำลังกายทำให้คนที่เล่นเกมมีความจำที่ดีขึ้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งข้อมูลตรงนี้ได้รับการอ้างอิงจากวารสาร Cerebral Cortex วารสารที่ว่าด้วยเรื่องเปลือกสมอง
         คล่องแล่วว่องไวและฉับไวขึ้น
          ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต (Iowa State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทีมศัลยแพทย์เปิดเผยว่า คนที่เล่นเกมต่อสู้ หรือเกมที่ต้องวิเคราะห์วางแผน อยู่เป็นประจำมักจะมีความคล่องตัวทั้งทางสรีระ และสติปัญญามากกว่าคนที่ไม่ค่อยได้เล่นเกมถึง 27% อีกทั้งผลการทดสอบยังพบว่า กลุ่มคนเล่นเกมบ่อย ๆ ยังมีสถิติการผิดพลาดที่น้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด
          มีจิตอาสาดีขึ้น

          วารสารพฤติกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Behaviour and Information Technology) พบว่า แม้จะเป็นเกมต่อสู้ที่ดูรุนแรง แต่พอต้องอยู่ในสถานะผู้ช่วยเหลือเพื่อนในทีมเดียวกัน ผู้เล่นเกมจะเกิดจิตอาสา และยื่นมือ ส่งของ ถ่ายเทกำลังเข้า รวมทั้งฮีลช่วยเพื่อนอย่างเต็มที่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DotA) ซึ่งก็อนุมานได้ว่า การเล่นเกมก็เหมือนการสร้างทีมของเพื่อนฝูงถ้ามีจิตอาสาในเกม จิตอาสาในชีวิตจริงก็จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมคือ

ถ้าเกมมีประโยชน์แล้วทำไหมเด็กถึงติดเกม?

สาเหตุของการติดเกม

        สาเหตุที่ ทำให้เด็กติดเกมมิได้มีเพียงสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่การติดเกมเป็นเพียงผลลัพธ์ของหลายๆปัจจัยที่ผสมผสานและสัมพันธ์กันอยู่ สาเหตุหลักๆ ได้แก่
       1. การเลี้ยงดูในครอบครัว: มักจะพบเด็กติดเกมได้บ่อยในครอบครัวที่เลี้ยงเด็กโดยไม่เคยฝึกให้เด็กมีวินัยในตัวเอง ขาดกฎระเบียบ กติกาในบ้าน ตามใจเด็ก หรือมักจะใจอ่อนไม่ทำโทษเมื่อเด็กกระทำผิด บางครอบครัวมีลักษณะที่สมาชิกในครอบครัวต่างคนต่างอยู่ ไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนานให้เด็กทำ หรือไม่มีกิจกรรมที่สมาชิกทุกคนทำร่วมกัน ทำให้เด็กเกิดความเหงา ความเบื่อหน่าย เด็กจึงต้องหากิจกรรมอื่นทำเพื่อให้ตัวเองสนุกซึ่งก็หนีไม่พ้นการเล่นเกม พ่อแม่อาจไม่มีเวลาควบคุมเด็ก หรือมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องจำกัดเวลาในการเล่นเกมของเด็กในช่วงแรก พ่อแม่อาจรู้สึกพอใจที่เห็นเด็กเล่นเกมเงียบๆคนเดียวได้โดยไม่มารบกวนตน ทำให้ตนมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น พูดง่ายๆคือใช้เกมเสมือนเป็นพี่เลี้ยงดูแลเด็กแทนตน
      2. สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป: สังคมยุคไฮเทคที่มีเครื่องมือที่มีพลังในการเร้าความตื่นเต้นให้เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างมหาศาล สังคมวัตถุนิยม สังคมที่ขาดแคลนกิจกรรม หรือสถานที่ที่เด็กจะได้ใช้ประโยชน์หรือเรียนรู้โดยได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไปด้วย เหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้เด็กหันไปใช้การเล่นเกมเป็นทางออก
     3. ปัจจัยในตัวเด็กเอง: เด็กบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเกมมากกว่าเด็กทั่วไป เช่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีปัญหาอารมณ์ ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล เด็กที่ขาดทักษะทางสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เด็กที่มีปัญหาการเรียน เด็กที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองต่ำ (low self-esteem) เป็นต้น

แล้วแบบไหนถึงเป็นเด็กติดเกม?

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะของเด็กติดเกม

       1. ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ทำให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลายๆชั่วโมงหรือเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน

       2. หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะต่อต้าน หรือมีปฏิกริยาหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง บางคนถึงขั้นก้าวร้าว

       3. การเล่นของเด็กมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะทำการบ้านหนีเรียนหรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อจะไปเล่นเกม การเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคม หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว

        4. บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วย เช่น โกหก ลักขโมย (เพื่อนำเงินไปเล่นเกม) ดื้อต่อต้านแยกตัว เก็บตัว ฯลฯ


ไม่มีวิธีป้องกันเลยหรอ?

แน่นอนว่าต้องมีวิธีการป้องกัน แต่วิธีแต่ละคนอาจจะแตกต่างออกไปตัวอย่างเช่น
          1. คุยกับเด็กเพื่อกำหนดกติกากันล่วงหน้าก่อนจะซื้อเกม หรืออนุญาตให้เด็กเล่นว่า เด็กสามารถเล่นเกมได้ในวันใดบ้าง วันใดเล่นไม่ได้ เล่นได้ครั้งละไม่เกินกี่ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาใดถึงเวลาใด ก่อนจะเล่นต้องรับผิดชอบทำอะไรให้เสร็จเรียบร้อยก่อนบ้าง หากเด็กไม่รักษากติกา เช่น เล่นเกินเวลา ไม่ทำการบ้านให้เสร็จก่อน ฯลฯ เด็กจะถูกทำโทษอย่างไร (แนะนำให้ใช้วิธีริบเกม หรือตัดสิทธิการเล่นเป็นเวลาระยะหนึ่งหากเด็กไม่ทำตามกติกาที่ตกลง)

          2. วางตำแหน่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมในสถานที่ที่เป็นที่โล่ง มีคนเดินผ่านไปผ่านมาบ่อยๆ ไม่ควรตั้งไว้ในห้องนอนหรือห้องที่ปิดมิดชิด เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้ติดตามเฝ้าดูได้ เป็นการป้องกันมิให้เด็กเก็บตัว แอบเล่นคนเดียวในห้อง หรือแอบเล่นทั้งคืน

          3. วางนาฬิกาขนาดใหญ่ไว้หน้าเครื่อง หรือในตำแหน่งที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

          4. ให้คำชมแก่เด็กเมื่อเด็กสามารถรักษาเวลาการเล่น ควบคุมตัวเองไม่ให้เล่นเลยเวลาที่กำหนดได้

          5. เอาจริง เด็ดขาดหากเด็กไม่รักษากติกา เช่น ริบเกมโดยไม่ใจอ่อน ถอดสายโมเด็มออก ฯลฯ

          6. ส่งเสริม จัดหากิจกรรมที่สนุกสนานอย่างอื่น (ที่สนุกพอๆกับ/หรือมากกว่าการเล่นเกม) ให้เด็กทำ หรือมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว

          7. หลีกเลี่ยงการใช้เกมเป็นเสมือนพี่เลี้ยงเด็ก เพื่อที่พ่อแม่จะได้มีเวลาส่วนตัวไปทำอย่างอื่น

          8. สอนให้เด็กรู้จักการแบ่งเวลา รู้จักใช้เวลาอย่างเหมาะสม


สรุป: การเล่นเกมนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียในการเล่น ดั้งนั้นในการเล่นควรเล่นอย่างพอเหมาะ อย่าเล่นจนเลยเวลาที่กำหนด แบ่งเวลาให้ถูกต้อง เล่นแบบมีระเบียบวินัยในการเล่นเกม เพราะไม่งั้นเกมจะเล่นเราแทน



คำถาม?
ตอนนี้คุณกำลังเล่นเกมหรือเกมกำลังเล่นคุณ

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม